วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

การปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์

การปลูกพืชแบบไร้ดิน  
        ารปลูกพืชไม่ใช้ดินอาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การปลูกพืชโดยให้ส่วนของรากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหาร
ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หรือปลูกบนวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดินและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารหรือน้ำปุ๋ย วัสดุที่ใช้ปลูกพืชอาจจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย หิน ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้นมา เช่น เพอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคิวไลท์ (Vermiculite) ร็อกวูล (Rockwool) หรือสารอินทรีย์ เช่น พีท (Peat) มอส (Moss) ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เปลือกมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าว แกลบสดและถ่านแกลบ เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
        เนื่องจากการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีการจัดปัจจัยต่าง ๆ  เช่น  น้ำ  แร่ธาตุ แสงอุณหภูมิให้แก่พืชอย่างเหมาะสม พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตมากสม่ำเสมอ สะอาด มีคุณภาพดี ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ไม่มีดิน หรือมีดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใช้น้ำใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประ-สิทธิภาพ ใช้แรงงานน้อย การควบคุมโรค แมลงศัตรูพืชทำให้ง่ายกว่า ข้อเสียมักจะเป็นเรื่องการลงทุนในระยะแรก มีการลงทุนสูง แต่ในระยะยาวนับว่าน่าลงทุนเพราะความต้องการในตลาดปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้นทุกวัน เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ราคาผักทั่วไปในตลาดสดและราคาผักที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินมีราคาที่แตกต่างกันมาก
      
ตัวอย่างการปลูกพืชไม่ใช้ดินจากโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม
การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน(Hydroponics)ของนักเรียนโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จึงได้ถือโอกาสเก็บภาพมาฝาก ก็ขอขอบคุณคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคมไว้ ณ ที่นี้ด้วย นักเรียนได้ทำการปลูกคะน้าโดยปลูกในสารละลายที่มีสารอาหารผสมอยู่ แบบของกระบะที่ใช้ปลูกมีรายละเอียดดังรูป
     
ภาพแสดงผังระบบการปลูกโดยใช้สารละลาย




     จากผังด้านบนเป็นการนำเหล็กสี่เหลี่ยมมาทำเป็นกระบะยาว 2.4 เมตร กว้าง1.2 เมตร มีขาตั้งให้กระบะสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร และใช้พลาสติกมาปู  เดินท่อสร้างระบบน้ำ ตัวกระบะด้านบนมีปริมาตรน้ำประมาณ 200 ลิตร ส่วนถังสีฟ้าที่วางอยู่ใต้โต๊ะมีปริมาตร 200 ลิตรเช่นเดียวกัน เท่ากับในระบบมีน้ำทั้งมด 400ลิตร ทั้งนี้เราจำเป็นต้องทราบขนาดความจุของน้ำทั้งระบบเพื่อใช้ในการคำนวณการใส่สารอาหารในภายหลัง
ภาพแสดงรายละเอียดส่วนต่างๆของกระบะ

ส่วนประกอบในถังขนาด 200 ลิตรมีท่อแยกเพื่ออัดอ๊อกซิเจนลงไปในน้ำ

รายละเอียดการทำข้อต่อสามทาง

ทางน้ำเข้าในกระบะ

ทางน้ำเข้าเดินมาจากถังด้านล่าง

กำลังเจาะรูเพื่อติดตั้งท่อทางออก

เมื่อปูพลาสติกและติดตั้งท่อเรียบร้อยแล้ว

ประกอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้วกำลังเติมน้ำ

เมื่อระบบเรียบร้อยก็เดินเครื่องได้เลย